วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์




ข้าพเจ้าชื่อ  นายชาคริต      นามสกุล   สิ่วกลาง   ชื่อเล่น มายด์



เชื่อชาติ.ไทย        สัญชาติ.ไทย        ศาสนา.พุทธ    

วันเกิด  วันพุธ  ที่  8  เดือนธันวาคม  พ.ศ.  2542    อายุ  18  ปี


ที่อยู่ปัจจุบัน

·   บ้านเลขที่  53/2  หมู่  3    ตำบล คอกกระบือ    อำเภอ เมือง   

จังหวัด สมุทรสาคร 74000

·   หมายเลขโทรศัพท์  062-530-6249

อีเมลล์  my-my-12345@hotmail.com



อุปกรณ์ที่ 1 CPU




CPU หรือที่เรารู้จักในชื่อเต็มว่า Central Processing Unit หลายคนคงจะรู้มาก่อนแล้วว่าหน้าที่ของซีพียูมีหน้าที่อะไรในคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะขาดซีพียูไม่ได้เลย ถ้าจะเปรียบเทียบกับร่างกายมนุษย์ซีพียูก็คือสมองที่มีหน้าที่สั่งการการทำงานของร่างกายและตรวจสอบการทำงานว่าร่างกายมีการทำงานที่ผิดปกติหรือเปล่า แต่หลายคนก็ยังไม่รู้จักซีพียูอย่างลึกซึ้ง เนื้อหาในบทความนี้จะเจาะลึกถึงอุปกรณ์ฮาร์แวร์ที่เราเรียกว่า CPU






CPU ทำหน้าที่อะไรในระบบคอมพิวเตอร์
อย่างที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า ซีพียู (CPU)เปรียบเสมือนสมองของมนุษย์ที่คอยควบคุมร่างกายและตรวจสอบการทำงานของร่างกาย ซีพียูก็ทำงานเช่นเดียวกัน
1. เริ่มจากการได้คำสั่งจากอุปกรณ์นำข้อมูล (input) ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านั้นจะถูกส่งมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือที่เราเรียกว่า แรม (RAM) แรมจะคอยจัดเรียงคำสั่งตามลำดับที่คำสั่งเข้ามาและตามระดับความสำคัญ โดยแรมมีหน้าที่ป้อนคำสั่งต่างๆที่ละคำสั่งให้กับซีพียู (CPU)
2. เมื่อซีพียูได้รับคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักแล้วก็ทำการประมวลผลทีละคำสั่งที่เข้ามาตามลำดับ หลังจากประมวลผลเสร็จแล้วก็จะส่งผลลัพธ์ที่ประมวลผลเสร็จไปยัง RAM อีกครั้ง
3. แรม (RAM) จะรับผลลัพธ์จากการประมวลผลของซีพียูในรูปแบบคำสั่ง แรมจะทำการส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์ที่อยู่ในคำสั่งที่ประมวลผล หลังจากที่คำสั่งถูกทำจนเสร็จแรมก็จะส่งข้อมูลไปแจ้งกับซีพียูว่าคำสั่งที่ส่งมาได้มีการปฏิบัติเรียบร้อยแล้ว
จากการทำงาน 3 ขั้นตอนข้างต้นเรียกว่าครบวงจรการทำงานของซีพียูในระบบคอมพิวเตอร์ โดยความเร็วในการประมวลผลแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับความสามารถในซีพียูนั้น ๆที่มีการสร้างขึ้นมานั้นเอง



ประโยชน์ของซีพียู
ประโยชน์ของซีพียูก็คือการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานอย่างเป็นระบบด้วยการคิดคำนวณและประมวลผลคำสั่งต่าง ๆที่ได้รับมาจากหน่วยความจำหลัก ถ้าไม่มีซีพียูเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้ด้วย
ประวัติความเป็นมาของซีพียู


ในตลาดของซีพียูนั้นมีผู้ผลิตซีพียูอยู่หลายค่ายด้วยกันแต่ในบทความนี้จะเล่าถึงค่ายซีพียูที่เป็นค่ายใหญ่ 2 ค่ายที่คอยแข่งขันและฟาดฟันในด้านเทคโนโลยีของซีพียูมาโดยตลอด 2 ค่ายยักษ์ใหญ่นี้ก็คือ Intel (อินเทล) และ AMD (เอเอ็มดี)
ประวัติความเป็นมาของซีพียู Intel นั้นมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่เริ่มมีการผลิตซีพียูชื่อของซีพียู intel ก็อยู่ในอันดับต้น ๆของผู้ผลิตซีพียูเสมอมา ซึ่งอินเทลพัฒนาซีพียูตั้งแต่ซีพียู 8086, 8088 และซีพียูในตระกูล 80×86 มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมาถึง Celeron Pentium II และ Celeron Pentium III ซึ่ง 2 รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ได้สร้างชื่อให้กับอินเทลเป็นอย่างมาก มีการพัฒนา Pentium 4 ขึ้นมารองรับการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้น
การพัฒนาซีพียูของอินเทลไม่ได้หยุดเพียงแค่ Pentium 4 เท่านั้นเพราะหลังจากนั้นไม่นานอินเทลก็ได้เปิดตัวซีพียูที่ทำงานได้เร็วกว่าซีพียูรุ่นเก่า ๆที่ผ่านมาด้วยการเปิดตัวซีพียูรุ่น Core 2 Duo และ Core 2 Extreme หรือที่เรารู้จักในชื่อว่าDual-Core โดยรุ่นล่าสุดของ intel จะเป็น รุ่นอินเทล คอร์ (Intel Core) รุ่นนี้ได้มีการพัฒนามาตั้งแต่คอร์ i3 ,คอร์ i5, คอร์ i7 และคอร์ i7 เอกซ์ตรีม (Core i7 Extreme ) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น LGA1366ทำงานด้วย FSB 800/1066/1333/1600MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 W
อุปกรณ์ที่ 2 เมนบอร์ด
 คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์ เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง ซึ่งเมนบอร์ดนั้นจะเป็นแผงวงจรที่รวมเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาทิ ซ็อกเก็ตสำหรับใส่ ซีพียู (CPU) และหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำถาวร มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเสียบอุปกรณ์ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก

เมนบอร์ดได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในปัจจุบันได้มีรูปแบบที่นิยมใช้งานในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็คือ ATX (Advance Technology Extension) โดยเราสามารถแบบช่วงการพัฒนาเมนบอร์ดได้ดังนี้
– PC/XT เป็นรุ่นบุกเบิกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM
– AT (Advance Technology) มีชื่อในยุค 386 แต่ตกรุ่นเมื่อมีรุ่น ATX
– ATX เป็นรุ่นที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
– ETX ใช้ใน embedded systems
– LPX ออกแบบโดย Western Digital BTX (Balanced Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักรุ่นใหม่ที่ถูกนำเสนอโดย Intel Mini-ITX (VIA Epia) ออกแบบโดย VIA
– WTX (Workstaion Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในปัจจุบันมาตรฐานเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ก็มีอยู่ 2 แบบคือ ATX และ เมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กจะสังเกตได้ว่าขนาดเมนบอร์ดจะเล็กกว่าเมนบอร์ดทั่วไป ซึ่งเมนบอร์ดรุ่น Mini – ITX นี้จะใช้เพื่อความบันเทิงเสียเป็นส่วนใหญ่
เมนบอร์ดทำหน้าที่อะไร
เมนบอร์ด เป็นแผงวงจรหลักที่มีความสำคัญซึ่งมีหน้าที่คอยควบคุมและจัดการให้กับอุปกรณ์ต่างๆทำงานเชื่อมโยงกัน โดยเมนบอร์ดจะรับส่งข้อมูลต่าง ๆจากตัวอุปกรณ์ต่างๆไปยังซีพียู และรับคำสั่งที่ได้รับการประมวลผลจากซีพียู นำไปส่งให้อุปกรณ์นั้นๆเพื่อให้การทำงานต่างๆไม่ติดขัด
ประโยชน์ของเมนบอร์ดมีอะไรบ้างอย่างที่รู้กันว่าเมนบอร์ด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก ซึ่งประโยชน์ของเมนบอร์ดนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักในการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆในเครื่อง ถ้าเมนบอร์ดไม่มีคุณภาพอาจจะทำให้ข้อมูลและอุปกรณ์ต่าง ๆเสียหายได้ซึ่งถ้าเมนบอร์ดที่ใช้งานมีเสถียรภาพและคุณภาพที่ดี จะทำให้การทำงานในแต่ละครั้งไหลลื่น อุปกรณ์ทุกอย่างจะทำงานอย่างไม่มีสะดุด เป็นผลให้เพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ด้วยการพัฒนารูปแบบและมาตรฐานเมนบอร์ดที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้นก็เพื่อป้องกันจุดด้อยที่ต้องระวังไม่ให้เกิดกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งในเมนบอร์ดมากที่สุด จุดที่ต้องระวังมากที่สุดก็คือเรื่องของความร้อน สาเหตุที่ปัจจุบันนิยมใช้มาตรฐาน ATX (Advance Technology Extension) ก็เพราะว่ามีการวางตำแหน่งซีพียูและอุปกรณ์ต่างๆให้สามารถระบายความร้อนได้ดีนั้นเอง
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
1. CPU socket, most times covered by FAN

2. RAM slots
3. AGP / Video slot , highest slot
4. Mainboard sockets, on backside case
5. PCI Slots, for soundcards, networkcards etc
6. Mainboard connectin to Power Supply Unit
7. Floppy drive connector 
8. IDE Connectors for HardDiskDrives and CD/DVD

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด


AGP Slot (Accelerator Graphic Port)


เป็นสล็อตที่มีไว้ส้าหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้้าตาล ต้าแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับต้าแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้ง เฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพีหรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง ขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X และล่าสุด 8X ตัว เลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น

 ATX Power Connector


ขั้วต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATX โดยที่พาวเวอร์ซัพพลาย จะมี สายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่งของ ขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟ หลุดจาก เมนบอร์ดได้ง่าย


BIOS (Basic Input Output )



เป็น CHIP IC ชนิด หนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดิสก์ไดร์ฟ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออส จะเริ่มตรวจสอบการ ท้างานของ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การท้างานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ ทราบ

CMOS Battery




แบตเตอรี่เบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟให้กับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหาก แบตเตอรี่หมดอายุจะท าให้ข้อมูลในไบออสหายไป ท าให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ สามาร ตรวจสอบ ได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ท าให้ คอมพิวเตอร์ไม่สามารถท างานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสอง หรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ายรูป

Line in  Line out  Microphone Jack


สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ซาวน์ดการ์ดจะถูกรวมเข้าไปกับ เมนบอร์ดด้วย ที่เรียกกันว่า Sound on Board จุดสังเกตก็คือที่ เมนบอร์ดจะมีช่องส้าหรับต่อไมโครโฟน ล้าโพง แล้วก็เครื่องเล่นเทป ท้าให้ไม่ต้องซื้อซาวน์ดการ์ดเพิ่ม อย่างไรก็ดีถ้าคุณต้องการคุณภาพ เสียงที่ดีกว่า หรือต้องการใช้เครื่องคอมกับการท้าดนตรี หรืองานตัดต่อ วิดีโอ ซาวน์การ์ดแบบติดตั้งเพิ่มก็ยังจำาเป็น



IEEE1394 Port




เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า FireWire (บริษัทโซนี่ เรียกว่า ILink) เป็นพอร์ตที่ใช้ส้าหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกชนิด หนึ่ง ซึ่งก็มีในเมนบอร์ด บางรุ่น พอร์ตนี้จะใช้ส้าหรับต่อพ่วงกับ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์ กล้องดิจิตอลวิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ Firewire โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ ต่อกับ กล้องดิจิตอลวิดีโอ เนื่องจากการที่ สามารถควบคุมการท้างานของกล้อง ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง 


Video Port
พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ กับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู ส้าหรับพอร์ตนี้ จะ มีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ด ด้วย (VGA Onboard)
Serial Port

พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณ อยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ ตที่ใช้ส้าหรับต่อโมเด็ม เม้าส์ หรือ จอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไป ใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่
Parallel Port


พอร์ตพาราเรล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู ส้าหรับต่อ สายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล ซึ่งส่วนใหญ่ จะ ใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรลจะมีกับเครื่อง พรินเตอร์รุ่นเก่า หรือใน เครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป


USB Port (Universal Serial Bus)




พอร์ตส้าหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มี พอร์ตแบบยูเอสบี เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดร์ฟ ซิพไดร์ฟ เป็นต้น เมนบอร์ดรุ่น ใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0 ซึ่ง รับส่งข้อมูลได้เร็ว กว่าเดิม เมื่อคุณต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อ กับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ต ยูเอสบี 2.0 เพื่อความมั่นใจว่า อุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะท้างานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ

PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port


 เป็นพอร์ต์ที่ใช้ส้าหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ โดย เรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลาย สายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับต้าแหน่งของรูที่พอร์ต ด้วย การเสียบสายเม้าส์และ คีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู ส้าหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้้าเงินต่อสายคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีก ประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง

System Panel Connector


 สิ่งที่คุณจะสังเกตุเห็นก็ คือกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม ส้าหรับ System Panel นั้น เป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิทช์ ปิดเปิดเครื่อง (Power Switch) สาย ไฟ ปุ่มรีเซ็ท (Reset Switch) ไฟแสดงการท้างานของฮาร์ดดิสก์ (HDD LED) ล้าโพง ภายในตัวเครื่อง (Speaker) และสวิทช์ล็อกการ ท้างานของคีย์บอร์ด (Keyboard Lock) โดยสวิทช์หรือ หลายไฟเหล่านี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้า กับ System Panel สวิทช์เปิด เครื่อง หรือไฟแสดงการท้างานของฮาร์ดดิสก์ก็จะไม่ติด
RAM Sockets



เป็นช่องที่ใช้ส้าหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่อง ส้าหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จ้านวนช่องถ้ามีเยอะก็จะท้าให้คุณเพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยัง แบ่งออกไปตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมี รอยมาร์ค อยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับต้าแหน่งรอยมาร์คที่แรม

PCI Slots (Peripherals component interconnect) 


สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้ส้าหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ด SCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internal เมน บอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสี ขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอ โดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้้าเงิน เพื่อใช้ ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ

IDE Connector



เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้ส้าหรับ เชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE รวมถึง อุปกรณ์จ้าพวกไดร์ ฟอ่านเขียนข้อมูล เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิฟไดร์ฟ โดยเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ IDE อยู่สองชุดด้วยกัน เรียกว่า IDE 1 กับ IDE 2 แต่ละคอนเน็คเตอร์ จะรองรับอุปกรณ์ได้ สองชิ้น ซึ่งหมายถึงว่าคุณจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ชิ้น ซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดิสก์ สองตัวกับไดร์ฟ CD-RW และไดร์ฟ DVD อีกอย่างละหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ FDD Connector ก็คือ จะมีตัวอักษรพิมพ์ก้ากับว่าด้านใดคือ PIN 1 เพื่อให้ต่อสายแพ เข้าไป อย่างถูกต้อง แต่ IDE Connector จะมีจ้านวนพินมากกว่าคือ 39 พิน (ในรูปคือที่เห็นเป็นสี แดงกับสีขาว)
Floppy Disk Connector



คอนเน็คเตอร์ส้าหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่ง เมนบอร์ดจะมีคอนเน็ค เตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการ ใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งดิสก์ ไดร์ฟเพียงแค่หนึ่งไดร์ฟเท่า นั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า FLOPPY หรือเมนบอร์ดบาง รุ่นจะเป็นตัวย่อว่า FDD พิมพ์ก้ากับอยู่ ส่วนที่ส้าคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี Pin หรือ เข็มอยู่ 33 อัน โดยด้านหนึ่งจะมีค้าว่า PIN 1 พิมพ์ ก้ากับอยู่ด้วย เมื่อต้องการต่อสายแพ เข้ากับคอนเน็คเตอร์ จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้้าเงินมาไว้ที่ต้าแหน่ง PIN 1
CPU Socket




ใช้ส้าหรับติดตั้งซีพียูเข้า กับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ Pentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมน บอร์ด ส้าหรับซีพียู AMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมน บอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอย มาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับ ต้าแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง

อุปกรณ์ที่ 3 แรม



RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ (เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ซึ่งหมายถึงจะสามารถทำงานได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง เมื่อมีการตัดกระแสไฟฟ้าหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลใน RAM ก็จะหายไป) RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม รวมถึงความเร็วในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
RAM ทำหน้าที่อะไร
RAM ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือชุดคำสั่งจากโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งต่อไปยัง CPU หรือ Central Processing Unit ซึ่งเป็นหัวใจหรือสมองของคอมพิวเตอร์นั้นๆให้ประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์ข้อมูลตามต้องการ เมื่อ CPU คำนวณเสร็จแล้ว จะส่งผลการคำนวณหรือวิเคราะห์นั้นๆกลับมายัง RAM เพื่อส่งต่อไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง ก่อนจะแสดงผลของการคำนวณออกมาทาง Output devices ต่างๆ เช่น ทางหน้าจอมอนิเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
\

RAM สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. Input Storage Area
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจาก Input devices เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ Barcode reader และอื่นๆ โดยจะเก็บไว้เพื่อส่งให้ CPU ทำการประมวผล คำนวณหรือวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นต่อไป
2. Working Storage Area เนื้อที่ RAM ส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผลของ CPU
3. Output Storage Area เนื้อที่ RAM ส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์โดยหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU แล้วและอยู่ระหว่างรอส่งผลการประมวลดังกล่าวกลับคืนไปให้โปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง เพื่อแสดงผลทาง Output devices ตามที่ผู้ใช้งานกำหนดไว้
4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ หน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS:Column Address Strobe) และแถวแนวนอน (RAS:Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต (Chipset) ควบคุมอยู่ โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำเพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน
เมื่อพิจารณาจากหน้าที่ของ RAM ในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็จะเห็นว่า RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญยิ่ง และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ยิ่งคอมพิวเตอร์เครื่องใดมี RAM มาก ก็จะมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นด้วย แต่การจะเพิ่ม RAM ให้กับระบบคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น งบประมาณ ความต้องการแรมของโปรแกรมที่เราใช้งาน และจำนวนช่อง (Slot) ในแผลวงจรหลักที่สามารถรองรับ RAM ได้เพิ่มอีกหรือไม่ เป็นต้น
RAM มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

แรมมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน เช่น



- SRAM (Static RAM)

- NV-RAM (Non-volatile RAM)
- DRAM (Dynamic RAM)
- Dual-ported RAM
- Video RAM
- WRAM
- FeRAM
- MRAM
RAM ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทคือ
- SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory)
DDR RAM หรือ DDR-SDRAM (Double Data Rate SDRAM)
โดยที่ DDR SDRAM นั้นได้รับความนิยมมากกว่าในปัจจุบันเนื่องจากมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่าแบบ SDRAM ธรรมดา ส่วนราคานั้นก็ไม่แตกต่างกันมาก
Module หรือ รูปแบบของ RAM ที่นิยมใช้มีดังนี้
- Single in-line Pin Package (SIPP)
- Dual in-line Package (DIP)
- Single in-line memory module (SIMM)
- Dual in-line memory module (DIMM)
- Small outline DIMM (SO-DIMM) เป็น DIMM ที่มีขนาดเล็ก ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แล็บท็อป
- Small outline RIMM (SO-RIMM)



อุปกรณ์ที่ 4 การ์ดจอ




การ์ดจอเปรียบเสมือนตัวการสำคัญที่ใช้สำหรับการแสดงผลต่างๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นการนำผลการประมวลที่ได้จากซีพียูส่งต่อไปยังหน้าจอ ลักษณะของการ์ดจอจะเป็นเหมือนแผงวงจรประเภทหนึ่ง โดยปกติหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วๆ ไป อาทิ พิมพ์งาน หรือเล่นอินเตอร์เน็ต ก็จะใช้การ์ดจอแบบ 2 มิติ คือไม่ได้แสดงผลอะไรที่ซับซ้อนมากนัก แต่ถ้าหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ประมวลผลเยอะและใช้เล่นเกมหรือทำกราฟฟิค 3 มิติ มากๆ ก็มีความจำเป็นทีจะต้องใช้การ์ดจอแบบ 3 มิติ เพื่อที่จะให้การแสดงผลนั้นมีความชัดเจนและได้ผลดีที่สุด

หลักการทำงานของการ์ดจอ

หากเป็นหลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดจอนั้นจะเริ่มเมื่อโปรแกรมต่างๆ ที่เราใช้งานนั้นถูกส่งเพื่อให้มีการประมวลผลที่ CPU เมื่อมีการประเมินผลเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งผลประมวลที่ได้นั้นมายังการ์ดจอเพื่อให้การ์ดจอได้แสดงผลออกมาที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และการ์ดจอก็จะทำหน้าที่ในการแสดงผลที่ประมวลออกมานั้นให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยในปัจจุบันถ้าหากเป็นการ์ดจอรุ่นใหม่ๆ ก็จะมีระบบในการเพิ่มความเร็วในการแสดงผลแบบ 3 มิติ และมีการเพิ่มหน่วยความจำให้อย่างเต็มที่ที่สุดเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยให้มากที่สุด

การเลือกซื้อการ์ดจอที่เหมาะกับการใช้งาน

สำหรับการเลือกซื้อการ์ดจอเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานให้มากที่สุดนั้นสิ่งสำคัญจะอยู่ที่ตัวของผู้ใช้งานเป็นหลัก เพราะตัวของผู้ใช้งานนั้นจะต้องรู้ตัวเองว่าปกติแล้วตัวเองเป็นคนใช้งานคอมพิวเตอร์ในลักษณะไหนมากที่สุด ถ้าหากว่าเป็นการใช้แบบธรรมดาทั่วไปไม่ได้เพิ่มอะไรเข้าไปมาก การใช้การ์ดจอที่มาจากคอมพิวเตอร์ปกติก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทว่าหากรู้ตัวเองว่าชื่นชอบการเล่นเกมส์ หรือจำเป็นต้องใช้โปรแกรมเกี่ยวกับกราฟฟิคที่มีความละเอียดสูงก็ควรที่จะเลือกใช้งานการ์ดจอที่มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างการใช้การ์ดจอ 3 มิติ ซึ่งจะทำให้ได้ผลตามความต้องการอย่างที่ตั้งใจเอาไว้มากกว่า

อุปกรณ์ที่ 5ฮาร์ดดิส




ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คือ อุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลระบบปฏิบัติการณ์ต่างๆที่ใช้ขับเคลื่อนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆหรือข้อมูลในรูปแบบของโปรแกรประยุกต์ หรือแฟ้มงานต่างๆ ล้วนถูกเก็บรักษาเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์นี่เอง ดังนั้นจึงบอกได้เลยว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งเลยทีเดียวก็ว่าได้ถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็คงต้องเทียบว่า ฮาร์ดดิสก์คือสมองส่วนความทรงจำของคอมพิวเตอร์นั่นเองสำหรับวันนี้เราจะพาไปดูการทำงานและส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์กัน

  1. หัวอ่าน (Head) เป็นส่วนหนึ่งของแขนหัวอ่าน ซึ่งเจ้าหัวอ่านตัวนี้สร้างจากขดลวด เพื่อใช้อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยการรับคำสั่งจากตัวคอนโทรลเลอร์ ก่อนเกิดความเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก และไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสนามแม่เหล็ก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลนั่นเอง
  2. แขนหัวอ่าน (Actuator Arm) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวๆ ซึ่งสามารถรับคำสั่งจากวงจรให้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยต้องทำงานร่วมกับหัวอ่าน
  3. จานแม่เหล็ก (Platters) มีลักษณะเป็นจานกลมๆ เคลือบด้วยสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆ ชั้นขึ้นอยู่กับความจุ เจ้าสารแม่เหล็กที่เองที่เป็นข้อมูลต่างๆ ของเรา โดยข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกในลักษณะของเลข 0 และ 1 แผ่นแม่เหล็กนั้นติดกับมอเตอร์สำหรับหมุน (Spindle Motor) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
  4. มอเตอร์หมุนแผ่นแม่เหล็ก (Spindle Motor) เป็นตัวควบคุมจานแม่เหล็กให้หมุนไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่อบันทึก หรือแก้ไขข้อมูล ปกติมักมีความเร็วในการหมุนประมาณ 7200 รอบต่อนาที แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมทำให้ตัวมอเตอร์มาสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 1 หมื่นรอบต่อนาที
  5. เคส (Case) หรือตัวกล่องสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่บรรจุส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการทำงานของฮาร์ดดิสก์

ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์สามารถแบ่งออกเป็นสี่ชนิดคือ


  1. IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการใช้เทคโนโลยีแบบเก่าคือจะมีขั้วต่อกับสายแพที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้แค่ 8.3 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น
  2. SATA เป็นมาตรฐานฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากถึง 150 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
  3. E-IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่พัฒนามาจาก IDE มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้ประมาณ 133 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
  4. SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลราวๆ 320 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีและมีความเร็วรอบในการหมุนจานประมาณ 1 หมื่นรอบต่อนาที นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ภายในองค์กร
ฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของระบบทั้งระบบ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องดูแล และถนอมการใช้งานของฮาร์ดดิสก์เอาไว้ให้ดี ทั้งนี้เพราะเมื่อฮาร์ดดิสก์เกิดพังหรือเสียหายขึ้นมา ข้อมูลของเราก็จะพลอยสูญหายไปด้วยเช่นเดียวกัน

อุปกรณ์ที่ 6 Power Supply คืออะไร



Power Supply คืออะไร

Power Supply แหล่งจ่ายไฟ เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยจะทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แหล่งจ่ายไฟในอดีตนั้น จะเริ่มจากแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบเชิงเส้น ซึ่งแหล่งจ่ายไฟชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่ โดยมีการออกแบบหม้อแปลงไฟฟ้าที่ความถี่สาย (line frequency) ให้ได้แรงดันไฟฟ้าในระดับที่ต้องการก่อน จากนั้นจะแปลงผ่านวงจรเรียงกระแสไปยังโหลดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จนกระทั่งปลายปี 1960 มีความต้องการใช้แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าสำหรับงานการบินอวกาศ จึงมีการพัฒนาและประยุกต์จนเกิดเป็นแหล่งจ่ายไฟแบบสวิตชิ่ง (Switched mode) ขึ้น
จากที่แหล่งจ่ายไฟฟ้ากำลังแบบเชิงเส้นนั้นมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักที่มากทำให้ไม่สามารถใช้ไดักับอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารชนิดพกพาต่างๆ ได้ จึงเป็นผลให้แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบเชิงเส้นถูกแทนที่ด้วยแหล่งจ่ายกำลังสวิตชิ่งและเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องของน้ำหนักและขนาดแล้ว ยังมีเรื่องของความสะดวกในการใช้งาน เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า แหล่งจ่ายไฟฟ้าจากการไฟฟ้าของแต่ละประเทศนั้น จะมีระดับแรงดันที่ไม่เท่ากัน เช่น 100VAC 220VAC รวมถึงความถี่ที่ใช้เช่น 60Hz 50Hz ซึ่งในประเทศไทยเราใช้อยู่ที่  220VAC 50Hz ดังนั้น ถ้าเป็นผู้ผลิตภาคจ่ายไฟ ย่อมอยากจะออกแบบภาคจ่ายไฟครั้งเดียวให้รองรับการใช้งานได้ทั่วโลก ซึ่งคุณสมบัติอย่างหนึ่งของภาคจ่ายไฟแบบสวิตชิ่งนั้น คือการรองรับย่านแรงดันอินพุตได้กว้าง เช่น 100-240VAC 50/60Hz ซึ่งทำให้ใช้งานได้ดีในกรณีที่แรงดันอินพุต หรือในระบบไม่นิ่ง ซึ่งจะยังคงรักษาระดับแรงดันขาออกได้คงที่
Switching Power Supply


Switching Power Supply สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย หรืออาจเรียกกันในชื่อของ Switch Mode Power Supplies (SMPS) เป็นอุปกรณ์แหล่งจ่ายไฟตรงคงค่าแรงดันแบบหนึ่งและสามารถเปลี่ยนแรงดันไฟสลับค่าสูงเป็นแรงดันไฟตรงค่าต่ำได้ ในชีวิตประจำวัน สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตัวอย่างพวกเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ต้องการแหล่งจ่ายไฟที่มีกำลังสูง เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องโทรสาร และอีกต่างๆ มากมายก็ล้วนแล้วแต่ใช้สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายในการจ่ายไฟแทบทั้งสิ้น


อุปกรณ์ที่ 7 การ์ดแลน




ครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ  ระบบที่คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องทำการเชื่อมต่อกัน โดยในการเชื่อมต่อจะมีสื่อกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูล ซึ่งทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพิมพ์ แฟกซ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิส เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก นอกจากนี้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ยังเป็นผลดีในกรณีที่ต้องการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกล หรือเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ทั่วโลกโดยใช้เวลาเพียงน้อยนิด จากเดิมที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้น อาจจำเป็นต้องใช้สื่อเก็บข้อมูลที่รับส่งกันภายนอก เช่น บันทึกลงแผ่นดิสก์แล้วไปส่งให้กับอีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองเวลามาก ยิ่งถ้าต้องการสื่อสารกันข้ามโลกยิ่งเป็นเรื่องลำบากและใช้เวลานานมาก แต่ในปัจจุบัน การสื่อสารผ่านสายสัญญาณของระบบเครือข่ายนั้น ทำให้การส่งข้อมูลทำได้ในเสี้ยววินาที 

 การ์ดแลน (LAN Card)   ป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน มักจะใช้การ์ดแลนเป็นตัวเชื่อเมต่ออีกด้วย การใช้การ์ดแลน จะใช้ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e, CAT6 เป็นต้น
การ์ดแลน(LAN Card) เป็นชื่อที่เรียกกันติดปากทั่วไป แต่คุณรู้หรือไม่ว่าชื่ออย่างเป็นทางการของมันมีชื่อว่า การ์ดอีเธอร์เน็ต มีไว้สำหรับรับ/ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะัมีสายที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน เรียกว่า สายแลน การเชื่อมต่อเครือข่ายและจะทำให้เราสามารถและเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างเครื่องได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งสามารถดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ส่วนเครื่องอื่นก็ใช้การแชร์อินเตอร์เน็ตผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลัก ความเร็วในการ์ดแลนจะอยู่ที่ประมาณ 100 Mbps และเริ่มเข้าสู่ 1000 Mbps หรือเรียกกันว่า กิกะบิตแลน(Gigabit LAN) แต่ก็อย่างว่าแหละัครับ การเชื่อมต่อแบบแลนคือการแชร์ บางคนอาจจะเปิดมาก หรือเปิดน้อยขึ้นอยู่ว่าจะเล่นแบบไหน อาจทำให้เกิดการดึงกันระหว่างเครื่อง เครื่องที่เล่นไฟล์ที่ต้องใช้การดาวน์โหลดมากๆ ก็จะทำให้เครื่องอื่นเล่นได้ช้าลง

อุปกรณ์ที่ 8 การ์ดเสียง



Sound Card (การ์ดเสียง) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้ โดยจะทำหน้าที่ควบเรื่องเสียง อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ   หรือสร้างเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง ๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card
    ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
          - A/D Converter 8 
 จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
          - A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
          หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย
 Sound Card มีความจำเป็นแค่ไหน
    ปัจจุบัน Mainboard ของเครื่อง 

 แทบทุกตัว ล้วนติดตั้งวงจรแสดงผลการประมวลและส่งออกของเสียง มาในตัวเองทั้งสิ้น หรือที่เรียกกันว่า Sound on Board ดังนั้น ความจำเป็นในการซื้อ Sound Card มาใช้งานจึงลดความจำเป็นลง หรือบางคนอาจคิดว่าไม่จำเป็นอีกต่อไป ก็ในเมื่อมีภาครับ-ส่งสัญญาณเสียงอยู่แล้ว แล้วยังจะต้องซื้อ Sound Card มาใช้งานให้ทับซ้อน สิ้นเปลืองสตางค์อีกทำไม เมื่อมันก็ทำงานเหมือนๆ กัน 
มาถึงจุดนี้ คงต้องถามตัวเองแล้วละ ว่า เราใส่ใจกับเสียงที่อยากได้ยินนั้นแค่ไหน ?
- ถ้าคุณรู้สึกว่า เสียงที่ได้จาก เพลง หนัง ละคร ไม่ว่าจะฟังจาก คอม วิทยุ เครื่องเล่น CD โทรทัศน์ ทุกอย่างมันก็เหมือนๆ กัน ฟังรู้เรื่องว่าเป็นเสียงอะไร ต่างกันแค่เสียงดัง หรือเสียงเบาเท่านั้น - หากเป็นเช่นนั้น สรุปได้ว่า Sound Card นั้น ไม่มีความจำเป็นกับคุณเลย
- แต่ถ้าคุณรู้สึกถึงว่า เสียงที่ได้ยินจากแต่ละเครื่องเล่น แต่ละอุปกรณ์ คอมแต่ละเครื่อง มีความแตกต่างกัน อันนั้นเบสหนักสะใจ อันโน้นเสียงโปร่งๆ ปิ้งๆ ฟังสบาย อันนี้เสียงหวาน นิ่มนวล ฯ - แบบนี้ Sound Card อาจมีส่วนช่วยคุณได้ เพื่อให้ได้เสียงที่ออกจากระบบคอมพิวเตอร์เป็นไปในแบบทีชอบหรือต้องการมากขึ้น


อุปกรณ์ที่ 9 CD รอม 





ซีดีรอม (CD ROM ย่อมาจากCompact disc Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage 
   Media) ลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพ็คดิสก์สำหรับฟังเพลง ข้อดีคือ เก็บข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าดิสก์เก็ต ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูล
   เทียบเท่ากับดิสก์เก็ตความจุ 1.44 MB จำนวน 600 แผ่น หรือเท่ากับฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุ 600 MB ในขณะที่ราคาของซีดีรอมถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากัน 
   จากข้อดีดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทเกมส์และโปรแกรมบรรจุในซีดีรอมมากขึ้น



 ประเภทของซีดีรอม 
             เมื่อดูจากสภาพภายนอกจะเห็นว่าซีดีรอมแต่ละแผ่นมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่แท้ที่จริงนั้นซีดีรอมแบ่งออกได้หลายประเภท การแยกประเภทของ
   ซีดีรอมนั้น แยกตามข้อกำหนดของหนังสือที่ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสื่อเก็บข้อมูลซีดีรอม เช่น Yellow CD หมายถึง ซีดีรอมที่ถูกผลิตตามข้อหนังสือหน้าปก
   สีเหลือง เป็นต้น

            ปัจจุบันแบ่งประเภทของซีดีรอมออกได้หลายประเภท ตามสีของหน้าปกหนังสือที่กำหนดลักษณะของซีดีรอม ดังต่อไปนี้
  - Yellow CD หรือ DATA Storage CD
  - Red CD / Audio CD
  - CD-ROM XA หรือ Multi-session CD หรือ ISO 9660
  - Mixed Mode CD 

   

             Yellow CD หรือเรียกว่า DATA Storage CD 
   เป็นที่รู้จักกันในชื่อของซีดีรอมประเภทที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data CD) มักพิมพ์คำว่า Data Storage บนแผ่น แผ่นซีดีรอมประเภทนี้ถูกนำมาเก็บข้อมูล
   ที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกเป็นแนวเกลียว (Spiral) จากวงรอบ (Track) ส่วนในของแผ่นไปยังวงรอบส่วนนอก ข้อมูลจะถูกเขียนครั้งละหนึ่งบิตตามลำดับ
   โครงสร้างของการบันทึกข้อมูลทางตรรกะ (Logical Format) ข้อมูลจะถูกบันทึกในลักษณะของแผนภูมิต้นไม้ (Tree) และไดเรคทอรี่ (Directory) และไฟล์ 
   ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ 

   การใช้งาน DATA-CD 
   - ใช้เก็บข้อมูล 
   - สำหรับสำรองข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ หรือจากสื่อบันทึกข้อมูลชนิดอื่นๆ 
   - สำหรับทดสอบบันทึกข้อมูลก่อนที่จะส่งแผ่นซีดีไปเป็นมาสเตอร์ 
   - สำหรับการบันทึกข้อมูลเพื่อใช้งานภายในสำนักงาน

           Red CD / AudiO CD 
   รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ Audio CD หรือคอมแพ็คดิสก์ คือแผ่นซีดีรอมที่มีไว้สำหรับฟังเพลง ซึ่งประกอบด้วย Track ของ Digital Audio ที่ถูกบันทึกลงไปใน
   Compact Disc - Digital Audio (CD-DA) รูปแบบการเก็บข้อมูลเพลงเป็นรูปแบบสากล คือนำไปใช้ได้ทั่วโลกและใช้ได้กับหลายๆ สื่อ CD-DA แผ่นหนึ่งมี 
   Track ได้ 99 Track 


             CD-ROM XA หรือ Multi-session CD 
   Multi-session CD คือซีดีรอมที่ถูกผลิตตามมาตรฐาน ISO 9660 ข้อมูลในซีดีรอมจะมีมากกว่า 1 session หนึ่ง session คือการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องกัน
   หนึ่งส่วน เมื่อปิด Session ดังกล่าว และเปิด Session ใหม่ ข้อมูลก็จะถูกบันทึกโดยไม่ต่อเนื่องกับ session เดิม ทำให้ใช้ประโยชน์จากซีดีรอมแบบ Multi-
   session ในการ Update ข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม

   

   ประโยชน์จากการใช้ซีดีรอมแบบ Multi - Session 
   - การสำรองข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ 
   - สำหรับใช้ในการทำข้อมูลที่ต้องการแจกจ่ายเมื่อมีการอัปเดทข้อมูล

     
 CD Extra 

   CD Extra หรือที่รู้จักกันในชื่อของ CD Plus หรือ Enhance CD เป็นวิธีการแก้ปัญหาเมื่อผู้ผลิตซีดีรอมต่างก็มองเห็นว่าผู้ผลิตไดรฟ์ซีดีรอม
   ปัจจุบันผลิตแต่ไดรฟ์ ที่สามารถอ่านข้อมูลแบบ Multi-Session หมดแล้ว

  CD Extra จะประกอบด้วย 2 session session แรกเป็น CD-DA ที่สามารถมีได้ถึง 98 Track ประกอบด้วย Audio Track และ session ที่สองเป็น
   Data Track ซึ่งถูกเขียนในรูปแบบของ CD-ROM XA เมื่อเอาแผ่นซีดีที่เป็น CD Extra มาใช้กับเครื่องเล่นซีดี session แรกที่เป็นส่วนของ Audio จะถูกนำมา
   เล่นแต่เครื่องเล่นซีดีจะไม่อ่านข้อมูลที่อยู่นอกเหนือจาก Session แรก ดังนั้นส่วนของ Data Track จึงไม่ถูกเล่นในเครื่องเล่นซีดี เมื่อนำเอาซีดีรอมดังกล่าวมาใช้กับ
   เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่าน session สุดท้ายก่อน ดังนั้นตัวของ Data จึงถูกอ่านในครั้งแรก

   คุณลักษณะของ CD Extra ถูกระบุไว้ใน Blue book Standard อย่างไรก็ตามในข้อระบุของ Blue Book Standard ไม่ได้กำหนดว่าซีดีรอมที่จะถูกผลิต
   ภายใต้มาตรฐานจำเป็นต้องเป็นซีดีรอมแบบ Multi - Session

   คุณสมบัติของแผ่นซีดีรอม

  CD-ROM เป็นสื่อที่มีคุณสมบัติที่หลากหลายต่างจากสื่อประเภทอื่นหลายประการด้วยกัน เช่น
  - ความจุข้อมูลมหาศาล ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 680 เมกกะไบท์ เทียบได้กับ หนังสือ 250,000 หน้า หรือข้อความในกระดาษพิมพ์ดีดจำนวน
   300,000 แผ่น หรือหนังสือสารานุกรม 1 ชุดจำนวน 24 เล่ม หรือภาพสี 5,000 ภาพ หรือเท่ากับข้อมูลในแผ่น floppy disk ขนาด 104 เมกกะไบท์ 460 แผ่น หรือ
   ใน hard disk ขนาด 20 เมกกะไบท์ ถึง 34 ชุด ถ้าบุคคลคนหนึ่งอ่านหนังสือหนึ่งหน้าต่อหนึ่งนาทีโดยไม่หยุดพักในเวลา 12 ชั่วโมงต่อวัน ประมาณว่าจะต้องใช้เวลา
   เกือบ 11 เดือนจึงจะอ่านข้อมูลในแผ่น CD-ROM แผ่นหนึ่งได้หมด   - บันทึกข้อมูลนานาประเภท อยู่ในลักษณะของดิจิทัล ( digital encoding ) สามารถบันทึกข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพถ่ายสีและขาวดำ ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิค
   เสียงพูด และเสียงดนตรี ได้อย่างมีคุณภาพสูง  - การสืบค้นฉับไว CD-ROM บรรจุข้อมูลได้มากมายมหาศษลแต่สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วและแม่นยำภายในเวลาเพียง1 วินาทีเท่านั้น   - มาตรฐานสากล แผ่น CD-ROM มีรูปแบบมาตราฐานจึงสามารถใช้กับหน่วยขับ CD-ROM หรือเครื่องเล่น CD-ROM ทั่วไปได้เหมือนกัน   - ราคาไม่แพง ทั้งแผ่นและเครื่องเล่นซีดีรอมมีราคาถูกลงอย่างมากและมีอย่างแพร่หลาย   - อายุการใช้งานนาน CD-ROM มีอายุการใช้งานนาน แต่แผ่นก็สามารถเสื่อมสภาพได้จากความชื้นและความร้อนต่างๆ  - ความคงทนของข้อมูล CD-ROM เป็นสื่อที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสนามแม่เหล็กจึงทำให้ข้อมูลอยู่คงที่ตลอดไป และที่สำคัญ ไม่ติดไวรัสเนื่องจากไม่สามารถเขียน
   ทับได้
  - ประหยัด เมื่อเปรียบเทียบขนาดเนื้อที่การบันทึกข้อมูลระหว่างแผ่น CD-ROM กับแผ่น floppy disk แล้ว จะเห็นได้ว่า CD-ROM แผ่นหนึ่ง สมารถบรรจุข้อมูลได้
   มากกว่าแผ่น floppy disk หลายร้อยเท่า จึงทำให้ประหยัดเงินในการใช้ CD-ROM เพียงแผ่นเดียวแต่บันมึกข้อมูลได้มากกว่า
  
- ความสะดวก เนื่องจาก CD-ROM เป็นแผ่นที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ สามารถพกพาไปใช้ในที่ต่างๆได้โดยสะดวก และส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ง่าย
   โดยทางไปรษณีย์ 

   กระบวนการผลิตซีดีรอม 

               การผลิตซีดีรอมไม่เหมือนกับการผลิตแผ่นเสียง ขั้นตอนแรก คือการสร้างแผ่นมาสเตอร์ข้อมูล ที่จะถูกบันทึกลงบนแผ่นมาสเตอร์นี้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นภาพ
   เสียง หรือข้อมูลทั่วไป ซึ่งจะ มีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลต่างกัน โดยใช้กำลังแสงเลเซอร์ที่มีควมเข้มข้นสูงมากกว่าเครื่องเล่น ซีดีทั่วไปหลายเท่าตัว ดังนั้นจึงต้องใช้เทคนิค
   การถอดรหัสข้อมูลแบบพิเศษที่เรียกว่า miroscopic pits เมื่อได้แผ่นซีดีมาสเตอร์แล้วจึงนำมาใช้ทำเป็นปั๊มโลหะต้นแบบเพื่อทำสำเนาต่อไป การผลิตแผ่นซีดีรอมทั่วไป
   จะใช้แผ่น ซีดีเปล่ามาทำการปั๊มด้วย master stamps หลังจากนั้นจึงนำไปเคลือบด้วยสาร Poly carbonate บางๆซึ่งจะทำให้แผ่นซีดี ดูสะท้อนแสงเป็นเงาแวววาว
   และเป็นส่วนที่สะท้อนแสงที่ยิงมาจากตัวกำเนอแสงเลเซอร์ในไดรฟ์ซีดีรอม จากนั้นก็นำมา เคลือบด้วยแล็กเกอร์บางๆอีกหนึ่งขั้นสุดท้ายก็พิมพ์สลากรายละเอียด ของ
   แผ่นดิสก์ ติดด้านบนของแผ่นเป็นขั้นตอนสุดท้าย พื้นผิวที่เป็นส่วนเก็บข้อมูลอยู่บริเวณด้านบนของแผ่นซีดีรอมนั่นเอง นั่นคืออยู่ชั้นถัดลงไปจากสลากที่ติดทับเอาไว้ และ
   ไดร์ฟซีดีรอมอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีด้านล่างของแผ่น โดยโฟกัสแสงเลเซอร์ผ่านความหนา 1.2 มิลลิเมตร ของสารโพลีคาร์บอเนต นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมด้านล่างของ
   แผ่นซีดีรอมที่รอยขีดข่วนเพียงเล็กน้อยไม่ส่งผล เสียหายต่อข้อมูลในแผ่น เพราะรอยขีดข่วนด้านบนของแผ่นเพียงเล็กน้อยไม่สามารถเข้าลึกไปถึงส่วนที่เก็บข้อมูลเอาไว้
   ในอีกมุมหนึ่ง รอยขีดข่วนด้านบนของแผ่นเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำลายสารโพลีคาร์บอเนตที่เคลือบไว้อย่างบางๆได้ ซึ่งจะมีผลทำให้แผ่นซีดีรอมเสียหายทันที แม้
   แผ่นซีดีรอมทนทานกว่าแผ่นฟลอบปี้ดิสก์ แต่จะโค้งงอได้อย่างง่ายดาย หากถูกทิ้งไว้กลางแดด ดังนั้นจึงต้องเก็บรักษาแผ่นอย่างถูกวิธี โดยการใส่ไว้ใน caddy
   หรือกล่องใส่แผ่นซีดีโดยเฉพาะ


อุปกรณ์ที่ 10 การ์ด USB


ระบบยูเอสบีเป็นการออกแบบโดยประกอบด้วย โฮสท์คอนโทรลเลอร์ และอุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมในรูปแบบต้นไม้โดยใช้อุปกรณ์พิเศษเรียกว่า "ฮับ (hub)" โดยมีข้อจำกัดของการต่อเชื่อมฮับได้ไม่เกิน 5 ระดับต่อ 1 คอนโทรลเลอร์ และสามารถต่อเชื่อมได้กับอุปกรณ์ 127 อุปกรณ์ต่อ 1 โฮสท์คอนโทรลเลอร์ โดยนับรวมฮับเป็นอุปกรณ์ด้วย ในคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ จะมีโฮสท์คอนโทรลเลอร์อยู่หลายช่อง ซึ่งพอเพียงสำหรับการต่อเชื่อมอุปกรณ์จำนวนมาก ๆ การต่อเชื่อมแบบยูเอสบีไม่จำเป็นต้องมีจุดสิ้นสุด (terminator) เหมือนการต่อเชื่อมแบบ SCSI
การออกแบบของยูเอสบีมีจุดมุ่งหมายที่จะขจัดความจำเป็นในการเพิ่มการ์ดขยาย (expansion card) ในช่องการเชื่อมต่อแบบบัส ISA หรือ PCI และเพิ่มความสามารถของรูปแบบ plug-and-play โดยยอมให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถถอด สับเปลี่ยน หรือเพิ่มจากระบบโดยไม่ต้องปิดคอมพิวเตอร์หรือบูตระบบใหม่ เมื่ออุปกรณ์ใหม่ถูกต่อเชื่อมเข้าสู่บัสเป็นครั้งแรก โฮสท์จะทำการระบุอุปกรณ์ และติดตั้งตัวขับอุปกรณ์ (device driver) ที่จำเป็นในการใช้งานอุปกรณ์นั้น
ยูเอสบีสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วง (peripherals) เช่น เมาส์ แป้นพิมพ์ แพดเกม จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ และ อุปกรณ์เครือข่าย เป็นต้น ยูเอสบีได้กลายเป็นรูปแบบการเชื่อมต่อมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์มัลติมีเดีย เช่น สแกนเนอร์ หรือกล้องถ่ายรูปดิจิตอล และนิยมนำไปทดแทนการเชื่อมต่อแบบเดิม เช่น การเชื่อมต่อแบบขนาน (parallel) สำหรับเครื่องพิมพ์ การเชื่อมต่อแบบอนุกรม (serial) สำหรับโมเด็ม ทั้งนี้เนื่องจากยูเอสบีช่วยลดข้อจำกัดหลาย ๆ ด้านของการเชื่อมต่อแบบเดิม เช่น การเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์หลาย ๆ เครื่องเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ในปี 2547 มีอุปกรณ์ยูเอสบีประมาณ 1 พันล้านชิ้นถูกผลิตขึ้น และอุปกรณ์ต่อพ่วงใหม่ๆ ที่ถูกผลิตออกมาก็จะใช้รูปแบบการต่อเชื่อมแบบยูเอสบี มีเพียงอุปกรณ์ที่ต้องการความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลมาก ๆ เท่านั้นที่ไม่สามารถใช้ยูเอสบี เช่น จอภาพแสดงผล หรือ มอนิเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิตอลวีดีโอคุณภาพสูง เป็นต้น
อ้างอิง

http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2407-sound-card-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html


https://worachat26.blogspot.com/


http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94/


https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%B5



https://phonphikun.wordpress.com/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/





http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.com/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B9%8C-harddisk-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/




อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ข้าพเจ้าชื่อ  นายชาคริต      นามสกุล   สิ่วกลาง   ชื่อเล่น มายด์ เชื่อชาติ.ไทย        สัญชาติ.ไทย   ...